郝月如師公

 

เฮ่อ เย่อหยู (ค.ศ. 1877 – 1935) มีชื่อว่าเหวินกุ้ย มีอีกชื่อว่าเยี่ยหยู เป็นคนมณฑลเหอเป่ย อำเภอหย่งเหนียน ตำบลกว๋างฝู่ บ้านอยู่ถนนตะวันตกภายในเมือง เป็นบุตรชายคนที่สองของท่านเฮ่อเว่ยเจิน ฝึกฝนมวยกับบิดาตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาได้เรียนหนังสือกับหลี่อวี้อวี๋ซึ่งเป็นอาจารย์ปู่ ได้เห็นอาจารย์ปู่หลี่อวี้อวี๋ฝึกฝนมวยอยู่บ่อยๆ และยังได้ฟังท่านอาจารย์ปู่อธิบายให้ฟังในหลักวิชาของมวยไท้เก็ก ได้เห็นได้รับฟังจนชินหูชินตา ได้รับประโยชน์เป็นอันมาก อีกทั้งยังได้รับการถ่ายทอดจากบิดาอย่างเอาใจใส่เป็นเวลาหลายปี ได้มุมานะฝึกฝนด้วยความเหนื่อยยาก วิชามวยก้าวขึ้นในระดับสูง จนในที่สุดก็สำเร็จในระดับปรมาจารย์คนหนึ่ง

ในวัยหนุ่มท่านเฮ่อเยี่ยหยูทำการค้าขาย ภายหลังจากที่ท่านเฮ่อเว่ยเจินได้ถึงแก่กรรมแล้ว โรงเรียนประถม, มัธยมหย่งเหนียนได้เชิญท่านเฮ่อเยี่ยหยู ทำการสอนมวยไท้เก็กตระกูลอู่

ปีค.ศ.1928 ได้รับตำแหน่งเจ้าสำนักของสำนักกั๋วซู่ก่วน (สำนักวิทยายุทธจีน) ในอำเภอหย่งเหนียน, ปีค.ศ.1930 ได้รับเชิญให้ไปสอนมวยไท้เก็กตระกูลอู่ ในที่ราชการต่างๆ เช่นศาลสูงสุดแห่งนครนานกิง, กระทรวงงบประมาณ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงการคลัง), มหาวิทยาลัยจงเอียน เป็นต้น ในปีค.ศ.1935 เดือนสิงหาคมท่านเฮ่อเยี่ยหยูได้ป่วยและถึงแก่กรรมที่นครนานกิง

ท่านเฮ่อเยี่ยหยูมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านพลังฝีมือ และหลักวิชามวยไท้เก็ก รวมกับประสบการณ์จริง และความรู้ทางด้านหนังสืออย่างดี ได้นิพนธ์ออกมาเป็นวิพากษ์มวยเช่น “จุดสำคัญของมวยไท้เก็กตระกูลอู่”, “การรำมวยการผลักมือของมวยไท้เก็กตระกูลอู่”, “การผลักมือ 15 วิธี”, “วิพากษ์ประสบการณ์ของเฮ่อเยี่ยหยู” เป็นต้น ซึ่งเป็นความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ ของขุมทรัพย์แห่งทฤษฎีมวยไท้เก็ก และได้รับความนิยมอย่างสูง ในเหล่าผู้ฝึกฝนมวยไท้เก็ก