13 ท่าร่างสำคัญของมวยไท้เก็กสกุลอู่

บิดาของปรมาจารย์ เฮ่อ เส้าหยู ได้สรุปประเด็นสำคัญๆ ของท่าร่างมวยไท้เก็กไว้ 13 ประการ  ท่าร่างเหล่านี้ มีความสำคัญที่ผู้ฝึกจำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์โดยสม่ำเสมอ  ตลอดเวลาการฝึกฝน  ให้ถูกต้องในทุกๆ กระบวนท่า  มวยไท้เก็กมีพื้นฐานจากภายในสร้างเสริมขึ้นมา  พื้นฐานภายในสร้างจากการกำหนดการเคลื่อนไหวของ "ชี่" ที่อยู่ภายใน ด้วยจิต    "ชี่" หรืออีกนัยหนึ่ง กำลังภายใน จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการฝึกฝน โดยถูกต้องในทุกกระบวนท่า สามารถรวมการเคลื่อนไหวในทุกกระบวนท่าให้กลมกลืนกัน ไม่ขัดกัน  จนกระทั่งสามารถให้ภายในกำหนดภายนอกได้  จะเห็นได้ว่า ท่าร่างที่ถูกต้องมีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุผลที่ว่า พื้นฐานทั้งหมดสร้างอยู่บนท่าร่างที่ถูกต้อง ดังนั้น ความถูกต้องโดยละเอียดของท่าร่าง ผู้ฝึกจำเป็นต้องฝึกฝนจนสามารถทำได้โดยไม่ขัดขืน  เป็นธรรมชาติ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว  ท่านอาจารย์หลี่เว่ยหมิง ได้เรียงลำดับท่าร่าง 13 ท่าตามลำดับการฝึก ที่ผู้ฝึกควรฝึกฝนไปทีละข้อๆ ดังนี้คือ

13 ท่าร่างของมวยไท้เก็กสกุลอู่

1. 涵 胸 หันเซวียง; hán xiōng
2. 拔 背 ป๋าเป้ย; bá bèi
3. 提 頂 ถีติ่ง; tí dĭng
4. 沉 肘 เฉินโจ่ว; chén zhŏu
5. 松 肩 ซงเจียน; sōng jiān
6. 吊 襠 เตี้ยวตั้ง; diào dăng
7. 裹 襠 กั่วตั้ง; guŏ dăng
8. 護 肫 ฮู่เจิน; hù zhūn
9. 尾 闾 正中 เหวยหลู่เจิ้นจง; wĕi lǘ zhèng zhōng
10. 氣 沉 丹 田ชี่เฉินตันเถียน; qì chén dān tián
11. 腾挪 เถิงหนัว; téng nuó
12. 闪 战 สั่นจั้น; shăn zhàn
13. 虚 实 分 清 ซีเสอเฟินชิง; xū shí fēn qīng